ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการเข้มงวดกวดขันน้ำหนักรถบรรทุก ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยืดอายุถนนไม่ให้ได้รับความเสียหายเร็วกว่าที่กำหนด มีผลทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการซ่อมบำรุงทาง เป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง ซึ่งได้รับอันตรายจากการชำรุดเสียหายของถนน เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร กรมทางหลวงในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ควบคุมน้ำหนักรถบรรทุก จึงได้ดำเนินการจับกุมรถบรรทุกที่บรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างต่อเนื่อง กว่า 4,100 คัน ในปีงบประมาณ 2560
ซึ่งการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินโดยกรมทางหลวง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่าผู้กระทำผิดมิได้เกรงกลัวกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ ดังนั้นปัญหาการบรรทุกน้ำหนักเกิน จึงเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันดูแลและแก้ไข มิใช่เพียงกรมทางหลวง หรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเท่านั้น ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในองค์รวมได้ เพราะปัญหาดังกล่าวมีปัจจัยที่กระทบกับภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ประกอบการรถบรรทุก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการร่วมกันแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนดอย่างต่อเนื่อง กรมทางหลวง จึงได้นำเสนอโครงการรถบรรทุกสีขาวให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ซึ่งเป็นนโยบายประชารัฐ ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นที่น่าพอใจ กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรขยายโครงการรถบรรทุกสีขาว ให้ครอบคลุมสู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานรัฐ ผู้บังคับใช้กฎหมาย ฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคผู้ประกอบการการขนส่งในระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
"สำหรับผู้ประกอบการขนส่งรายใดที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หรือมีความประสงค์จะร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อช้วยกันแก้ไขปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการสามารถสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเข้าร่วมโครงการผ่านลิงค์ข้างล่างนี่"
:: เงื่่อนไขและการสมัครเป็นสมาชิก ในโครงการรถบรรทุกสีขาว::
1. ต้องเป็นผู้ประกอบการขนส่ง และยังดำเนินกิจการอยู่จนถึงปัจจุบัน
2. สามารถเปิดเผยตัวตนต่อ คณะทำงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้ิองในโครงการรถบรรทุกสีขาวได้
3.
ต้องมีความจริงใจกับการแก้ไขปัญหา และให้ความร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดี
4. ต้องมี เบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถใช้ติดต่อประสานงานได้
5. ต้องกรอกข้อมูลในใบสมัครให้ครบถ้วน
6. กรอกข้อมูล E-mail (ถ้ามี) เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร และสาระสำคัญจากทางโครงการ
:: เอกสารประกอบการสมัครสมาชิก ::
1. ใบสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรถบรรทุกสีขาว (ดาวน์โหลดได้จากลิงค์ สมัครสมาชิก) พร้อมกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
2. สำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ
3.
ส่งใบสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรถบรรทุกสีขาว พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนเซ็นสำเนาถูกต้อง
ตามที่อยู่นี่ โครงการรถบรรทุกสีขาว สำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
*** ข้อมูลของผู้สมัครจะถือเป็นความลับ และไม่มีการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หรือผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข่องไม่่วากรณีใดๆ ***
:: เงื่่อนไขและการพิจารณาเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ::
1. ผู้ประกอบการต้องสมัครเป็นสมาชิกของ "โครงการรถบรรทุกสีขาว" แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนได้
2. รายละเอียดของเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ต้องเป็นความจริง มีความชัดเจน หรือพอที่จะนำสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการต่อไปได้
3. ผู้ประกอบการที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ประกอบการที่ร้องเรียน ต้องเป็นสมาชิกของโครงการรถบรรทุกสีขาว และต้องเปิดเผยตนเองต่อหน่วยงาน จะทำให้สามารถรายงานความคืบหน้า สอบถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม และชี้แจ้งข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเท่าความเสียหายได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
4. ข้อมูลที่ได้รับจะถือเป็นความลับ และไม่มีการเปิดเผย ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ประกอบการที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ประกอบการที่ร้องเรียน ต่อบุคคลภายนอก หรือผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข่องไม่่ว่ากรณีใดๆ
5. ระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเรื่อง ความเพียงพอของหลักฐานที่ได้รับจากผู้ร้องเรียน
|