ทางเชื่อมเข้า-ออกทางหลวง
1. การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า – ออกทางหลวง
2. การขออนุญาตวางหรือเชื่อมท่อระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำทิ้งลงสู่เขตทางหลวง
3. การขออนุญาตติดตั้งป้ายแนะนำบนทางหลวง
4. การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง
5. แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการ
1. การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า – ออกทางหลวง
อาศัยอำนาจตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 ตามมาตราต่างๆ ดังนี้
มาตรา 37 ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดในเขตทางหลวงเพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวงเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง ในการอนุญาตผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ รวมทั้งมีอำนาจกำหนดมาตรการในการจัดการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม การป้องกันอุบัติภัยและการติดขัดของการจราจร
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีความจำเป็นแก่งานทางหรือเมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตได้กระทำการ ผิดเงื่อนไขที่กำหนดในการอนุญาต ผู้อำนวยการทางหลวงจะเพิกถอนเสียก็ได้
ทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้อำนวยการ ทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการดังกล่าวรื้อถอนหรือทำลายในกำหนดเวลาอันสมควร ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง
รื้อถอนหรือทำลาย โดยผู้นั้นจะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้และเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนั้นเอง
มาตรา 55 ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดในเขตทางหลวงพิเศษเพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวงพิเศษ
ในกรณีที่ทางหลวงพิเศษมีทางขนาน ผู้ใดจะสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดในเขตทางหลวงพิเศษ เพื่อเป็นทางเข้าออกทางขนาน ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ
การอนุญาตตามวรรคสอง เมื่อมีความจำเป็นแก่งานทาง ผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษจะเพิกถอนเสียก็ได้
ทาง ถนน หรือสิ่งอื่นใดที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนวรรคหนึ่งหรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามวรรคสอง ให้นำมาตรา 37 วรรคสาม มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในปัจจุบันกรมทางหลวงดูแลทางหลวงอยู่ 3 ประเภท คือ
1. ทางหลวงพิเศษ
2. ทางหลวงแผ่นดิน
3. ทางหลวงสัมปทาน
ท่านที่มีความประสงค์จะขอก่อสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงพิเศษและทางหลวง แผ่นดิน หรือปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงที่ได้ประกาศตามมาตรา 49 ต้องขออนุญาตต่อกรมทางหลวง ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการไว้ ดังต่อไปนี้
ตาม พรบ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 55 ได้ห้ามไว้เด็ดขาดมิให้สร้างทางเชื่อมกับทางหลวงพิเศษแต่เชื่อม กับทางขนานได้ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่ประสงค์จะเข้าออกทางหลวงพิเศษ ต้องขออนุญาตสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางขนาน ของทางหลวงพิเศษเท่านั้น สำหรับทางหลวงพิเศษที่ได้กำหนดให้มีทางขนานไว้ด้วย แต่ยังมิได้ สร้างทางขนานไว้ ผู้ที่จะพัฒนาที่ดินหรือดำเนินการจัดสรรที่ดินสามารถแสดงความจำนงสร้างทางขนานที่กรมทางหลวงได้ออกแบบไว้พร้อมๆ กับการขออนุญาตสร้างทางเชื่อม ในการก่อสร้างทางขนานผู้ขออนุญาตจะบริจาคเงินให้กรมทางหลวงดำเนินการให้ หรือจะขอรับมอบอำนาจมาดำเนินการก่อสร้างเองก็ได้ ทั้งนี้จะต้องใช้ผู้รับเหมาสร้างทางที่มีความสามารถ รวมทั้งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการสร้างทาของกรมทางหลวงด้วย
อนึ่ง ทางขนานมิใช่ส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ ทางหลวงพิเศษที่ได้กำหนดให้เป็นทางหลวงที่ควบคุมทางเข้าออก สมบูรณ์แบบ เช่น ทางหลวงพิเศษสาย กรุงเทพ – ชลบุรี จะไม่มีทางขนานและห้ามมิให้เชื่อมทางเข้าออกทางหลวงพิเศษ อย่างเด็ดขาด
สำหรับลักษณะของทางเชื่อมและเงื่อนไขต่างๆ ได้กำหนดไว้เช่นเดียวกับทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
2. การขออนุญาตสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงแผ่นดิน
กรมทางหลวงได้กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงแผ่นดินทั่วไป ดังต่อไปนี้
2.1 ลักษณะและตำแหน่งทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงสำหรับอาคารทั่วไป
2.1.1 ทางเชื่อมใกล้บริเวณทางแยก
(1) ห้ามมิให้มีทางเชื่อมในช่วงช่องทางเลี้ยว (Turning Roadway) ในทางแยกและตามแนวการมองเห็น (Line of sight) ซึ่งได้กำหนดไว้ในแบบทางแยกนั้น
(2) สันขอบทางหรือไหล่ทางเชื่อมด้านใกล้ทางแยก ต้องห่างจากจุดตัดของเขตทางหลวง หรือจุดตัด ระหว่างแนวครอบครองที่ใกล้ทางแยกกับเขตทางหลวง สำหรับทางในเมืองไม่น้อยกว่า 30 เมตร และทางนอกเมืองไม่น้อยกว่า 50 เมตร
(3) บริเวณทางแยกต่างระดับหรือชุมทางต่างระดับ จะพิจารณากำหนดให้เป็นแห่งๆ ไป
2.1.2 ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้สะพาน
(1) สะพานราบ (ช่วงทางหลวงที่เข้าหาสะพานที่มีความลาดชันระหว่าง 0 – 3 %)
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากคอสะพาน ไม่น้อยกว่า 30 เมตร
(2) สะพานโค้งตั้ง ที่มีความลาดชัน 3 – 6 % จุดทางเชื่อมต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งและจุดปลายโค้งตั้ง ดังนี้
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่ในเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและ ปลายโค้งตั้งไม่น้อยกว่า 20 เมตร
- ทางเชื่อมใกล้สะพานที่อยู่นอกเมือง ให้ระยะจากขอบทางเชื่อมด้านใกล้สะพานห่างจากต้นและปลายโค้ง ตั้งไม่น้อยกว่า 40 เมตร
2.1.3 ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้ทางรถไฟ ให้ขอบทางเชื่อมด้านใกล้ทางรถไฟห่างจากรางรถไฟไม่น้อยกว่า 30 เมตร
2.1.4 ทางเชื่อมที่อยู่ในโค้งราบ จะต้องมีระยะการมองเห็นที่เพียงพอ และสามารถหยุดรถได้ทัน ห้ามมิให้ทางเชื่อม บริเวณโค้งราบที่มีรัศมีน้อยกว่า 100 เมตร
2.1.5 รายละเอียดการวางท่อระบายน้ำ
(1) ขนาดและประเภทของอาคารระบายน้ำจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละสายทาง
(2) ในกรณีที่มีคูน้ำอยู่เดิมให้พิจารณาขนาดของอาคารระบายน้ำ โดยให้ช่องเปิดของอาคารระบายน้ำ กว้างไม่น้อยกว่า 3/4 ของความกว้างของคูน้ำนั้น และจะต้องสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด โดยให้ส่วนของอาคารระบายน้ำสูงกว่า ระดับน้ำสูงสุด
(3) โดยทั่วไปให้ใช้ท่อ คสล. อย่างน้อย 1 – ? 0.60 เมตร
(4) ในเขต กทม. และปริมณฑล ให้ใช้ท่อขนาด 2 - ? 1.00 เมตร หรือท่อ Box culvert หากร่องน้ำ ไม่กว้างพอให้ใช้ขนาด 1 - ? 1.20 เมตร
2.1.6 ลักษณะผิวจราจรของทางเชื่อมที่ขออนุญาต จะต้องทำผิวทางอย่างน้อยให้เป็นลักษณะเดียวกับทางหลวง บริเวณนั้น ให้มีความยาวอย่างน้อยถึงเขตทางหลวง กรณีผิวจราจรทางเชื่อมเป็นคอนกรีตแต่ผิวทางหลวงเป็น ชนิดลาดยาง ให้สร้างทางเชื่อมผิวคอนกรีตบรรจบทางหลวงที่ขอบไหล่ทาง และปรับปรุงไหล่ทางลาดยางให้มีความ แข็งแรงเท่าทางจราจร
(1) ความกว้างของผิวจราจรทางเชื่อมจะต้องไม่กว้างกว่าผิวจราจรทางหลวงบริเวณนั้น กรณีผู้ขออนุญาต จะปรับปรุงขยายทางหลวงที่บริเวณทางเชื่อมด้วย เช่น สร้างช่องจราจรชะลอความเร็วและเร่งความเร็วให้ความกว้าง ของผิวจราจรไม่เกิน 7.00 เมตรต่อทิศทาง
2.2 ลักษณะและตำแหน่งทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงสำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยทั่วไปจะต้องไม่ขัดต่อประกาศของกรมโยธาธิการ หรือกฎระเบียบใดๆ ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยไว้ด้วย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.2.1 ทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันที่อยู่ใกล้กันทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแห่งหนึ่ง ต้องห่างจากทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว แห่งอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ระยะดังกล่าวเป็นระยะระหว่างจุดสัมผัสของรัศมีเลี้ยวเข้า – ออก ด้านใกล้ ของทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสอง
2.2.2 ทางเชื่อมที่ใกล้ช่องเปิดของเกาะกลางหรือทางระบายน้ำ หรือกำแพงของทางหลวง หรือทางแยกทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องห่างจากช่องเปิดของเกาะกลางหรือทางระบายน้ำ หรือ กำแพงของทางหลวง หรือทางแยก ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร ระยะดังกล่าวเป็นระยะระหว่างจุดสัมผัสของรัศมีเลี้ยว เข้า – ออก ด้านใกล้ของทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันกับจุดสัมผัสของรัศมีทางแยก หรือจุดสัมผัสรัศมีของหัวเกาะ
2.2.3 ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้สะพาน ทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมัน จะต้องห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด ของเชิงลาดสะพานที่ไม่ใช่สะพานท่อ ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร
2.2.4 ทางเชื่อมที่อยู่ใกล้ทางรถไฟ สำหรับจุดเริ่มต้นทางเชื่อมของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้อง ห่างจากรางรถไฟที่ใกล้ที่สุด ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตรและห่างจากด่านช่างน้ำหนัก หรือด่านตรวจ เป็นระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
2.2.5 ทางเชื่อมที่อยู่ในโค้งราบโดยทั่วไปห้ามมิให้เชื่อมทางเข้าออกสถานีบริการน้ำมันบนทางโค้งราบ ที่มีรัศมีน้อยกว่า 600 เมตร สำหรับทางหลวงในเมือง และที่มีรัศมีน้อยกว่า 1,000 เมตร สำหรับทางหลวงนอกเมือง และจุดเริ่ม จะต้องห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่ไม่ใช่สะพานท่อไม่น้อยกว่า 50.00 เมตรโดยวัดสัมผัสของรัศมีเลี้ยวทางเชื่อมของสถานีบริการกับจุดเริ่มต้นหรือจุดปลายโค้งของทางโค้งราบ
2.2.6 ทางเชื่อมที่อยู่ในโค้งตั้งโดยทั่วไป ห้ามตั้งสถานีบริการน้ำมันบนโค้งตั้ง และบนทางที่มีความลาดชัน เกิน 4.00 % หรือบนทางหลวง ที่มีระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ
2.2.7 ทางเชื่อมที่อยู่บนทางลาดชันทางเชื่อมของสถานีบริการที่มีอยู่บนทางหลวงที่มีความลาดชัน 2-4 % จุดสัมผัสของรัศมีเลี้ยวทางเชื่อมของสถานีบริการต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งตั้งของทางหลวงสำหรับทางในเมือง 80 เมตร และนอกเมือง 150 เมตร
2.2.8 รายละเอียดการวางท่อระบายน้ำ
(1) ขนาดและประเภทของอาคารระบายน้ำจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละสายทาง
(2) ในกรณีที่มีคูน้ำอยู่เดิมให้พิจารณาขนาดของอาคารระบายน้ำ โดยให้ช่องเปิดของอาคารระบาย น้ำกว้างไม่น้อยกว่า 3/4 ของความกว้างของคูน้ำนั้น และจะต้องสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด โดยให้ส่วนของอาคารระบายน้ำสูงกว่าระดับน้ำสูงสุด
(3) โดยทั่วไปให้ใช้ท่อ คสล. อย่างน้อย 1 – ? 0.60 เมตร
(4) ในเขต กทม. และปริมณฑล ให้ใช้ท่อขนาด 2 - ? 1.00 เมตร หากร่องน้ำไม่กว้างพอให้ใช้ขนาด 1 - ? 1.20 เมตร หรือใช้ท่อเหลี่ยม (Box culvert ) หรือข้อกำหนดพิเศษสำหรับทางหลวงนั้น ๆ
2.2.9 ลักษณะผิวจราจรของทางเชื่อมที่ขออนุญาตจะต้องทำผิวทางอย่างน้อยให้เป็นลักษณะเดียวกับ ทางหลวงบริเวณนั้น ให้มีความยาวอย่างน้อยถึงเขตทางหลวงกรณีผิวจราจรทางเชื่อมเป็นคอนกรีต แต่ผิวทางหลวงเป็นชนิดลาดยางให้สร้างทางบรรจบทางหลวงที่ขอบไหล่ทาง และปรับปรุงไหล่ทางลาดยาง ให้มีความแข็งแรงเท่าช่องจราจรเดินรถ
(1) ความกว้างของผิวจราจรทางเชื่อมจะต้องไม่กว้างกว่าผิวจราจรทางหลวงบริเวณนั้น ได้กำหนดขนาดไว้ให้ในกรณี ที่ทางหลวงบริเวณที่ขออนุญาตยังไม่ได้ก่อสร้างเต็มรูปแบบ (ยังไม่มีมีการก่อสร้างทางเท้า) จะต้องก่อสร้างขยายผิวจราจรตามมาตรฐาน กรมทางหลวงเพื่อเป็นช่องจราจรรอเลี้ยวเข้าและช่องเร่งความเร็ว (Decelerations and Acceleration Lanes ) ตั้งแต่ก่อนเริ่มรัศมีเลี้ยวเข้าทางเชื่อม 70 เมตรและเลยไป 70 เมตร โดยขยายช่องจราจรกว้าง 3.50เมตรพร้อมไหล่ทางกว้างไม่เกิน 6.00 เมตร ยาว 50 เมตรและระยะสอบเข้าTaper 20 เมตรกรณีที่ทางหลวงบริเวณนั้นไม่สามารถขยายความกว้างของคันทางออก ไปได้อีกเพราะมีระยะระหว่างขอบไหล่ทางกับเขตทางหลวงใกล้กันมากอยู่แล้วให้ปรับปรุงทางเดิม ให้มีความแข็งแรงเท่าช่องจราจรเดินรถข้างละ 70 เมตร
(2) ความลาดชันของทางเชื่อมจะต้องลาดลงไปจากไหล่ทาง 1- 3 % ไปเป็นระยะไม่น้อยกว่า 6.00 เมตรแล้วจึงลาดขึ้นได้แต่ไม่ควรเกิน 3 % กรณีที่ไม่สามารถปรับความลาดชันตามข้อกำหนดขั้นต้นได้แต่ต้องอยู่ในวิสัยของความปลอดภัย ให้ก่อสร้างรางตัวยูพร้อมฝาตะแกรงเหล็กที่แนวติดขอบไหล่ทางเพื่อดักน้ำมิให้ไหลเข้าตัวคันทางหลวง
และให้ระบายน้ำจากรางตัวยูลงท่อระบายโดยต้องมีบ่อพักกักเศษดิน
2.3 เอกสารสำหรับการขออนุญาต
กรมทางหลวงได้กำหนดระเบียบและวิธีการขออนุญาตทำทางเชื่อมกับทางหลวงไว้ว่าจะต้องเสนอเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้
2.3.1 แบบฟอร์มคำขออนุญาตของกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงจัดไว้ให้ฟรีหรือ Down load ได้จากตัวอย่าง
- คำขออนุญาตสำหรับเอกชน
(แบบเลขที่ 37/1)
- คำขออนุญาตสำหรับหน่วยราชการ
(แบบเลขที่ 37/2)
2.3.2 แบบแปลนก่อสร้างทางเชื่อมกับทางหลวง กรมทางหลวงมีร่างต้นแบบไว้ให้ฟรีหรือ Down load ได้จากตัวอย่าง สำหรับรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
- ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก บ้านพักอาศัย
(แบบเลขที่ 37/1(1) - 37/1(2))
- ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก อาคารพาณิชย์
(แบบเลขที่ 37/2(1) - 37/2(2))
- ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก สถานีบริการน้ำมัน
(แบบเลขที่ 37/3(1) - 37/3(5))
(แบบมาตรฐานทางเข้า – ออก ขนาดเท่ากับกระดาษ A3)
2.3.3 ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ภาพถ่ายสำเนาโฉนดที่ดิน ซึ่งประสงค์จะทำทางเชื่อมเข้าออกทางหลวง กรณีที่ที่ดินติดจำนองจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้รับจำนอง
2.3.4 กรณีทางเชื่อมที่ขออนุญาตมีรัศมีเลี้ยวปากทางเข้าออกล้ำหน้าที่ดินผู้อื่น อาจจะต้องให้เจ้าของที่ดินแสดง ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
2.3.5 กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการขออนุญาตแทน เจ้าของที่ดินจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจด้วย พร้อมสำเนา บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
2.3.6 กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมตราประทับของ นิติบุคคลนั้นๆ และต้องมีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลนั้นด้วย ท่านจะต้องเตรียมแบบฟอร์มคำขออนุญาต เอกสาร และแบบแปลน ต้องใช้ทั้งหมด 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจฉบับแรกให้ติดอากรราคา 10 บาท
3. วิธีการยื่นเรื่องขออนุญาตทางเชื่อม
เมื่อท่านได้เดินทางไปถึงหมวดการทางหรือแขวงการทางแล้ว ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนว่า ท่าน ประสงค์จะมาติดต่อขอทำทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงประเภทใด ที่ดินของท่านตั้งอยู่ที่บริเวณไหน ของกรมทางหลวง เจ้าหน้าที่จะให้ความช่วยเหลือในการกรอกแบบฟอร์มและแบบแปลนก่อสร้างให้ต่อไป ในการกรอกแบบแปลนนี้จำเป็นจะต้องรู้ถึงตำแหน่งที่แน่นอน ความหน่วยเป็นเมตร เจ้าหน้าที่จำเป็น ต้องออกไปตรวจสอบในสนามพร้อมกับเจ้าของที่ดินด้วย จึงควรกำหนดนัดหมายกันเสียด้วย