ปลูกสร้างอาคารริมทางหลวง

การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงบางเส้นทาง โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 52 ลงวันที่ 18 เมษายน 2535 ตามมาตรา 49 ดังนี้ 
มาตรา 49 เมื่อมีความจำเป็นจะต้องคอบคุมทางเข้าออกทางหลวง เพื่อการจราจรบนทางหลวงเป็นไปโดยรวดเร็วสะดวก หรือเพื่อความปลอดภัยในการจราจรบนทางหลวง 

ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่ดินริมเขตทางหลวงทั้งสายหรือบางส่วน ดังต่อไปนี้ 

1. สร้างหรือดัดแปลงต่อเติมอาคารตามประเภท ชนิด หรือลักษณะที่กำหนดในกฏกระทรวง สถานีบริการน้ำมัน สถานีบริการก๊าซ สถานีบริการล้างหรือตรวจสภาพรถหรือติดตั้งป้ายโฆษณา ภายในระยะไม่เกิน 15 เมตร จากเขตทางหลวง 
2. สร้างศูนย์การค้า สนามกีฬา สนามแข่งขัน โรงมหรสพ สถานพยาบาล สถานศึกษา หรือจัดให้มีตลาด ตลาดนัด งานออกร้าน หรือกิจการอื่นที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ภายในระยะไม่เกิน 50 เมตร จากเขตทางหลวง 
ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง 

ในการอนุญาตผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ 

การกำหนดทางหลวงสายใดทั้งสายหรือบางส่วนที่จะห้ามมิให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา


ทางหลวงที่ได้ประกาศควบคุมทางเข้าออกตามมาตรา 49 มีดังนี้

อันดับ
แขวงการทาง
ทางหลวง
หมายเลข สำนักทางหลวงที่
ตอน
ในความรับผิดชอบ
1.
9
พระประแดง - สำโรง - บางปะอิน
กรุงเทพ 
ปทุมธานี
11 
11
2.
9
พระประแดง - บางแค - สาย 338 
สาย 338 - บางบัวทอง
สน.บท.ธนบุรี 
ปทุมธานี
11 
11
3.
3
อ้อมเมืองชลบุรี
ชลบุรี
12
4.
22
อ้อมเมืองหนองหาน 
อ้อมเมืองบ้านง่อน 
อ้อมเมืองบ้านม่วงไข่ 
อ้อมเมืองพรรณานิคม 
อ้อมเมืองดงมะไฟ
อุดรธานี 
สว่างแดนดิน 
สว่างแดนดิน 
สกลนคร 
สกลนคร




3
5.
23
อ้อมเมืองบ้านไผ่ 
อ้อมเมืองบรบือ 
อ้อมเมืองมหาสารคาม 
อ้อมเมืองร้อยเอ็ด 
อ้อมเมืองเขื่องใน
บ้านไผ่ 
บ้านไผ่ 
มหาสารคาม 
ยโสธร 
ยโสธร




7
6.
24
อ้อมเมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี
7
7.
43
อ้อมเมืองหาดใหญ่
สงขลา
15
8.
101
อ้อมเมืองแพร่
แพร่
2
9.
116
อ้อมเมืองป่าซางทั้งสาย
ลำพูน
1
10.
201
อ้อมเมืองชัยภูมิ 
อ้อมเมืองภูกระดึง 
อ้อมเมืองวังสะพุง
ชัยภูมิ 
ชัยภูมิ 
เลย


6
11.
206
อ้อมเมืองพิมาย
นครราชสีมาที่1
8
12.
209
อ้อมเมืองขอนแก่น
ขอนแก่น
5
13.
212
อ้อมเมืองท่าอุเทน 
อ้อมเมืองพระธาตุพนม
นครพนม 
นครพนม

7
14.
214
อ้อมเมืองสุรินทร์
สุรินทร์
8
15.
219
อ้อมเมืองบุรีรัมย์
บุรีรัมย์
8
16.
304
อ้อมเมืองปักธงชัย
นครราชสีมาที่ 2
8
17.
314
อ้อมเมืองฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทรา
12
18.
401
อ้อมเมืองสุราษฎร์ธานี 
อ้อมเมืองท่าศาลา
สุราษฎร์ธานี 
นครศรีธรรมราช
14 
14
19.
ทางหลวง 
จังหวัด 
4146
ทางหลวง 407 (บ้านน้ำกระจาย) - เกาะยอ - ทางบรรจบหลวงสาย 4083 (บ้านเขาแดง)
สงขลา
15
20.
3344
เขตบางกะปิ - ผ่านทางสาย 34 - บรรจบทางหลวง 3268
กรุงเทพ
11
21.
402
ทางแยกบ้านคู - บรรจบทางหลวงหมายเลข 402 (บ้านระเงง)
ภูเก็ต
14
22.
36
เลี่ยงเมืองระยอง
ระยอง
12



หลักเกณฑ์และข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง
 

1. การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการปลูกสร้างอาคาร ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 49 

1.1 อาคารพักอาศัย ตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ที่ไม่เกิน 4 ชั้น อาคารขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป แนวกันสาดหรือส่วนที่ยื่นนอกสุดของอาคาร ต้องห่างจากเขตทางหลวงไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร และต้องก่อสร้างเป็นโครงสร้างถนน 

1.2 อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา สถานพยาบาล สถานศึกษา ตลาดหรือกิจการอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากๆ แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวงอย่างน้อย 6.00 เมตร เพื่อสร้างเป็นถนนและจะต้องมีพื้นที่จอดรถในที่ดินของผู้ขอเพียงพอตามหลักเกณฑ์ของกรมทางหลวง และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยของผู้ใช้ทางหลวง ดังต่อไปนี้แล้วแต่กรณี เช่น 

1.2.1 สร้างสะพานลอยคนเดินข้าม 
1.2.2 ขยายช่องจราจรสำหรับการรอเลี้ยวเข้าหรือออกจากพื้นที่ของโครงการ 
1.2.3 จัดสร้างที่หยุดรถประจำทางพร้อมศาลาที่พัก 
1.2.4 ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง 
1.2.5 ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง เครื่องหมายนำทาง 
1.2.6 ขยายเขตทางหลวง 
1.2.7 งานอื่น ๆ ที่จำเป็น 
1.2.8 และในกรณีที่จะปล่อยน้ำลงสู่เขตทางหลวงจะต้องเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดไม่มีพิษ หรือเน่าเหม็น หรือมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการฯต้องก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 

2. สำหรับริมเขตทางหลวงที่มีพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ในที่ดินริมเขตทางหลวงตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 49 

2.1 อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดเล็กทั่วไป แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคาร ต้องห่างจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร อาคาร สถานีบริการน้ำมัน - เชื้อเพลิง หรือก๊าซ แท่นจำหน่าย ห่างจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร 

2.2 อาคารขนาดใหญ่ตามข้อ 1.2 แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวง 
สำหรับอาคารตึกแถวเว้นระยะ 6.00 เมตร สำหรับโรงงาน - อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน อาคารจอดพักยานพาหนะ ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ฯลฯ เว้นระยะ 10.00 เมตร สำหรับสนามกีฬา สถานศึกษา ตลาด งานออกร้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเว้นระยะ 40.00 เมตร และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยตามกฎเกณฑ์ของกรมทางหลวงแล้วแต่กรณี ตามข้อ 1.2.1 - 1.2.8 

2.3 ระยะเว้นที่ว่างด้านหน้าต้องก่อสร้างเป็นถนนมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร หรือ 10.00 เมตร แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ระยะเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารดังกล่าวข้างต้นจะต้องไม่น้อยกว่าบทบัญญัติของท้องถิ่น หรือหลักเกณฑ์ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ 

วิธีขออนุญาต 

           ให้ผู้ขอนุญาตยื่นความจำนงผ่านหมวดการทาง แขวงการทาง สำนักงานบำรุงทาง ซึ่งรับผิดชอบบริเวณทางหลวงนั้น การยื่นขออนุญาตให้มีคำร้อง แบบแปลน และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

(1) คำขออนุญาตตามมาตรา 49 พรบ. ทางหลวง พ.ศ. 2535 หรือสามารถ ดูได้จากตัวอย่าง Down Load 
(2) แบบแผนผังอาคารพื้นชั้นล่าง แสดงทางเข้าออกตัวอาคาร พื้นที่จอดรถ หยุดรถ ถนน ภายในบริเวณและทางเชื่อมเข้าออก 
- แบบด้านข้างของอาคาร หรือรูปตัดแสดงด้านข้าง แสดงแนวอาคารที่ห่างจากเขตทางหลวง 
- แบบรูปตัดตัวอาคารแสดงการใช้พื้นที่ต่าง ๆ โดยย่อ และบริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่จอดรถ 
(3) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอฯเป็นเอกชน 
(4) ในกรณีที่เป็นบริษัท , ห้างหุ้นส่วน ให้แสดงหนังสือการจดทะเบียนบริษัท , ห้างหุ้นส่วนประกอบ และในกรณีที่มีการมอบอำนาจแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท , ห้างหุ้นส่วน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 
(5) เอกสารและแบบแปลนในการขออนุญาตอย่างละ 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจฉบับแรกให้ติดอากรราคา 10 บาท