ติดตั้งป้ายริมทางหลวง

กรมทางหลวงจึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ติดตั้งป้ายแนะนำสถานที่ราชการและเอกชน ดังต่อไปนี้ 

   1. ลักษณะกิจการสถานที่สำคัญ 

สถานที่ราชการและสถานที่เอกชนที่มีประชาชนเดินทางมาติดต่อจำนวนมาก แต่มิใช่การเดินทางมาเป็นประจำ ซึ่งผู้ใช้ทางอาจหลงทางหรือเข้าออกบริเวณนั้นไม่คล่องตัว อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการจราจรติดขัดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ สถานที่เหล่านี้ได้แก่ 

1.1 สถานที่ราชการ 
1.2 สถานที่เอกชน 
(1) สนามกีฬา 
(2) ศูนย์การค้า , ตลาดนัด , สถานที่จัดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) 
(3) แหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักแรม ที่พักผ่อนหย่อนใจ 
(4) สถานศึกษา 
(5) โรงพยาบาล 
(6) ศาสนสถานทุกศาสนา 
(7) นิคมอุตสาหกรรม 
(8) มูลนิธิและองค์กรการกุศล 
(9) หมุ่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม 
(10) สำนักงานพรรคการเมือง 

2. มาตรฐานและการติดตั้งป้าย 

ป้ายแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางของสถานที่สำคัญดังกล่าว กำหนดไว้ 3 ประเภท คือ
ก) ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง
ข) ป้ายชี้ทาง
ค) ป้ายแหล่งท่องเที่ยว

ตำแหน่งของป้ายแนะนำสำหรับการนี้ห้ามมิให้ติดตั้งที่ปริเวณทางแยกทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวง ได้ติดตั้งป้ายแนะนำตามมาตราฐานไว้แล้วนั้น 

รายละเอียดการใช้ การติดตั้ง และมาตราฐานรูปแบบของป้าย มีดังต่อไปนี้

2.1 ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง
(1) ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่เป็นสถานที่ราชการ ลักษณะขนาดรูปร่างและสีของป้าย บอกจุดหมายปลายทาง ดังแสดงตามตัวอย่างในรูป


ป้ายติดตั้งข้างทาง พื้นสีขาว 
อักษรและสัญลักษณะ สีดำ
ป้ายแขวงสูง พื้นสีขียว 
อักษรและสัญลักษณ์ สีขาว


                       (2) ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่เป็นสถานที่เอกชน ลักษณะขนาดรูปร่างและสีของป้าย บอกจุดหมายปลายทาง ดังแสดงตามตัวอย่างในรูป


ป้ายติดตั้งข้างทาง พื้นสีขาว 
อักษรและสัญลักษณะ สีดำ
ป้ายแขวงสูง พื้นสีเขียว 
อักษรและสัญลักษณ์ สีขาว


             การติดตั้ง ให้ติดตั้งบนทางหลวงในระยะ 25 ถึง 150 เมตร ก่อนถึงทางแยกสาธารณะหรือทางเชื่อม ไปสู่สถานที่ดังกล่าว 

2.2 ป้ายชี้ทาง

ลักษณะขนาดและรูปร่างของป้ายชี้ทางดังรูป ทั้งนี้อาจบอกระยะทางจากทางแยกถึงสถานที่ดังกล่าว เป็นกิโลเมตร หรือเมตร

 
ป้ายชี้ทางสถานที่ราชการ 
พื้นป้ายสีขาว 
ตัวอักษรและสัญลักษณ์ สีดำ 



ป้ายชี้ทางสถานที่เอกชน 
พื้นป้ายสีน้ำตาล 
ตัวอักษรและสัญลักษณ์ สีขาว


             3. ข้อกำหนดเงื่อนไข 

3.1 กรมทางหลวงจะเป็นผู้พิจารณากำหนดประเภทและมาตรฐานของป้าย รวมทั้งตำแหน่งติดตั้งป้ายที่เหมาะสม

3.2 ผู้ขออนุญาตหรือเจ้าของสถานที่สำคัญ ยกเว้นส่วนราชการ จะต้องเสียค่าเช่าสำหรับการติดตั้งป้าย ดังนี้
ป้ายชี้ทาง ตำแหน่งละ 6,000.- บาทต่อปี
ป้ายติดตั้งข้างทาง ตำแหน่งละ 10,000.- บาทต่อปี
ป้ายแขวนสูง ชนิดเสาเดียว ตำแหน่งละ 50,000.- บาทต่อปี

3.3 เมื่อป้ายดังกล่าวชำรุดเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้ขออนุญาตจะดำเนินการติดตั้งทดแทนใหม่ โดยผู้ขออนุญาตหรือเจ้าของป้ายจะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด 

3.4 ผู้ขออนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในหนังสือขออนุญาต

3.5 กรมทางหลวงสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการขออนุญาตให้ติดตั้งป้ายดังกล่าว โดยมิต้องแจ้งเหตุความจำเป็นใด ๆ ต่อผู้ขออนุญาต


4. วิธีการขออนุญาต

การขออนุญาตให้ดำเนินการติดตั้งป้ายแนะนำนี้ กรมทางหลวงอาศัยอำนาจตามมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 โดยกำหนดระเบียบวิธีการและขั้นตอนไว้ดังต่อไปนี้

1. ให้ผู้ขออนุญาตยื่นความจำนงผ่านหมวดการทาง , แขวงการทาง , สำนักงานบำรุงทาง ซึ่งรับผิดชอบบริเวณทางหลวงนั้น การยื่นขออนุญาตให้มีคำร้อง แบบแปลน และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1) คำขออนุญาตตามมาตรา 47 พรบ. ทางหลวง พ.ศ. 2535 หรือสามารถ ดูได้จากตัวอย่าง Down Load
(2) แบบแปลนที่สังเขปแสดงเส้นทางหลวงและที่ตั้งสถานที่ขออนุญาต มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1: 500 
(3) รูปแบบของป้าย , ขนาด, ข้อความ หรือสัญลักษณ์ในป้าย
(4) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอฯ ในกรณีที่ผู้ขอฯเป็นเอกชน
(5) ในกรณีที่เป็นบริษัท , ห้างหุ้นส่วน ให้แสดงหนังสือการจดทะเบียนบริษัท , ห้างหุ้นส่วนประกอบ และในกรณีที่มีการมอบอำนาจแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท , ห้างหุ้นส่วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 
(6) เอกสารและแบบแปลนในการขออนุญาตอย่างละ 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจฉบับแรก ให้ติดอากรราคา 10 บาท